Statistics & Econometrics
การวิเคราะห์เชิงสถิติ และเศรษฐมิติ
ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณนั้น หลายคนรู้สึกว่าซับซ้อนและยากแก่การเข้าใจ การวิเคราะห์ชนิดนี้ส่วนใหญ่เป็นการพิสูจน์สมมุติฐานของการวิจัยด้วยการใช้โมเดลทางสถิติหรือเศรษฐมิติ ความยากของการวิเคราะห์ชนิดนี้เริ่มจากการสร้างโมเดล (estimation model) เพื่อตอบโจทย์และสมมุติฐานการวิจัยของเรา
เมื่อมีโจทย์ สมมุติฐาน และ estimation model ที่ชัดเจนแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือการเก็บข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ และการหาเทคนิคทางสถิติหรือเเศรษฐมิติในการวิเคราะห์ (estimate) โมเดลตามข้อมูลนั้น
โดยทั้วไปข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็นสามอย่างคือ ข้อมูลที่เป็น cross-sectional data, time-series data และ cross-sectional time-series data ในการ estimate โมเดลที่เราสร้างไว้ด้วยข้อมูลที่มีอยู่นั้น เราต้องเลือกเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ให้ถูกต้องตามประเภทของข้อมูล ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งการประมาณการ coefficient ที่ถูกต้อง (unbiased and efficient estimators)
ตัวอย่าง หากเก็บข้อมูลจากหลาย ๆ หน่วยวิเคราะห์เพียงครั้งเดียวในช่วงเวลาเดียว เราต้องวิเคราะห์ด้วยเทคนิคที่ใช้กับ cross-sectional data หากมีการเก็บข้อมูลจากหลาย ๆ หน่วยการวิเคราะห์ ในหลาย ๆ ช่วงเวลา เราต้องใช้เทคนิคการวิเคราะห์ที่ใช้กับ panel data analysis หากเก็บข้อมูลจากหน่วยวิเคราะห์เดียวในหลาย ๆ ช่วงเวลา เช่น ราคาหุ้น A ในตลาดหลักทรัพย์ เราต้องใช้เทคนิค time-series analysis เป็นต้น
การเลือกเทคนิคการวิเคราะห์ให้ตรงกับประเภทข้อมูล และตรงกับโมเดลที่เราสร้างขึ้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์รวมกัน การวิเคราะห์ที่ถูกต้องจะนำไปสู่ผลวิจัยที่ถูกต้อง และการตีความเพื่อใช้ประโยชน์ทางการบริหารและการทำนโยบายได้อย่างถูกต้องด้วย
บริการของเรา
ทีมงานด้านการวิเคราะห์ของเราสามารถช่วยท่านวิเคราะห์ข้อมูลที่ท่านมีอยู่ด้วยเทคนิคต่าง ๆ ตามฐานข้อมูลที่ท่านมีอยู่ โดยคำนึงถึงเป้าหมายที่ให้ได้การคำนวนผล (estimate) ที่ถูกต้อง
Cross-sectional data analysis
-Bi-variate analysis
-Regression analysis (เช็ค classical assumptions อย่างถูกต้อง)
Time-series data analysis
-Basic time series เช่น ARIMA
-Non-stationary time series เช่น VAR และ Co-integration เป็นต้น
Cross-sectional time-series data analysis
-Fixed effect & random effects
-Dynamic panel data
ปรึกษาเรา
wise-companions@outlook.com